วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

ม้าน้ำ เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งเนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายใจด้วยเหงือก มีการเคลื่อนที่ไปมาและควบคุมทิศทางด้วยครีบ มีเกราะปกคลุมลำตัว ซึ่งเป็นลักษณะของปลานั่นเอง เพียงแต่ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลก คือมีส่วนหัวเหมือนม้า อยู่ในตระกูล GENUS เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แม้ม้าน้ำทั่วโลกก็ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Hippocampus ของครอบครัว Syngnathidae แต่เพราะความแปลกประหลาดของเจ้าม้าน้ำในด้านรูปพรรณสัณฐาน วงจรชีวิตที่แตกต่างไปจากปลา เหนือสัตว์ทะเลโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้การจัดแบ่งชนิดของม้าน้ำในระดับชนิด Species ยังมีความสับสนอยู่มาก แต่ก็มีการประมาณการกันไว้ว่า ม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำทั่วโลก 6 ทวีปคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชียนั้น น่าจะมีอยู่ประมาณ 35 ชนิดในประเทศไทยพบว่า ม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย คาดว่าน่าจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ
1. ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus ) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึก ใสสะอาด เช่น เกาะที่มีแนวปะการัง กัลปังหา ห่างจากชายฝั่ง เป็นม้าน้ำที่มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำพันธุ์ kuda ชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำดูปะการังและนักสะสมของที่ระลึกรวมทั้งนักเลี้ยงปลาทะเลในตู้โชว์
2. ม้าน้ำ 3 จุด ( H. trimaculatus ) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว จะอพยพเข้ามาบริเวณชายฝั่งและมักจะติดอวนปู อวนกุ้งของชาวประมงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่ม้าน้ำอยู่ในระยะผสมพันธุ์ และวางไข่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการลดจำนวนประชากรของม้าน้ำพันธุ์นี้ลงอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากบริเวณส่วนบนของลำตัวม้าน้ำพันธุ์นี้จะปรากฏเป็นจุดดำ ประมาณ 3 จุด จึงเป็นสาเหตุให้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ม้าน้ำ 3 จุด"
3. ม้าน้ำแคระ ( H. mohnikei ) มีขนาดเล็กที่สุดพบเห็นไม่บ่อยนัก ตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่าย บริเวณที่เป็นพื้นทราย แต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ม้าน้ำชนิดนี้หายากจึงยากต่อการเพาะเลี้ยง
4. ม้าน้ำดำ ( Hippocampus kuda ) จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนม้าน้ำที่พบในน่านน้ำไทย ในอดีตมีผู้บอกเล่าว่ามีขนาดยาวถึง 1 ศอก แต่ปัจจุบันที่มีการพบเห็นตัวใหญ่ที่สุดมีขนาดตัวยาวเท่าฝ่ามือเท่านั้น แต่ก็ยังจัดได้ว่าเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้รับความชื่นชอบจากนักนิยมยาบำรุง จึงเป็นสาเหตุให้ม้าน้ำชนิดนี้สูญพันธุ์ ลำตัวสีดำสนิท ผิวค่อนข้างเรียบไม่มีหนามยาวแหลม อาศัยตามชายฝั่งบริเวณที่มีน้ำค่อนข้างขุ่น เมื่อนำมาเลี้ยงสามารถเปลี่ยนสีได้ ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย

ม้าน้ำได้รับฉายาว่าเป็นนักอำพรางตัวยงเนื่องจากจะมีวิวัฒนาการของรูปร่างให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น ม้าน้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังก็มักจะมีหนามยาว และมีสีสันสวยงาม หรือม้าน้ำที่อาศัยอยู่ในดงสาหร่ายทะเล เช่น ม้าน้ำที่พบในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเส้นใยออกมาจากผิวหนัง คล้ายกับสาหร่ายในบริเวณที่ม้าน้ำชนิดนี้อาศัยอยู่ และม้าน้ำมักจะปรับเปลี่ยนสีของตัวได้ตามสภาพของแสงและอารมณ์ โดยเฉพาะเวลาที่เกี้ยวพาราสี หรือต่อสู้ จากการสังเกตพฤติกรรมของม้าน้ำหนามพบว่า มันจะผสมพันธุ์กันในช่วงเช้าจนถึงประมาณก่อนเที่ยง โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปหาตัวเมีย แล้วใช้หางกวาดเพื่อจับตัวเมียเอาไว้ หลังจากนั้นจะเริ่มแอ่นอก งอหัวลงจนปากแนบชิดหน้าอกแล้วบีบถุงหน้าท้องจนเห็นช่องเปิด เพื่อแสดงให้ตัวเมียเห็นว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์ หากตัวเมียพร้อมก็จะเปลี่ยนสีลำตัว แล้วว่ายหันข้างลำตัวคู่กันไป ถ้าไม่พร้อมจะสลัดให้หลุด
ม้าน้ำตัวผู้จะมีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ทำให้ไข่ม้าน้ำที่อยู่ในถุงหน้าท้องนั้นฝังตัวลงในเนื้อเยื้อเหมือนกับสัตว์อ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งคงจะไม่ผิดนักที่จะบอกว่าธรรมชาติสร้างให้ม้าน้ำตัวผู้จะต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องตัวจริงแม้จะมีช่วงระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก็ตาม หลังจากที่ตัวผู้อุ้มท้อง ตัวเมียก็จะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฟักลูกออกมาเป็นตัว และจะอยู่ด้วยกันตลอด จนเมื่อตัวใดตัวหนึ่งตายที่เหลือก็จะไปจับคู่กันใหม่ ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร ลักษณะพิเศษนี้ทำให้ม้าน้ำกลายเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ที่ได้รับความนิยม นำไปมอบให้เป็นของขวัญในวาระสำคัญเช่น งานแต่งงานโดยจะถูกทำเป็นม้าน้ำตากแห้งบรรจุใส่กล่อง
การรวบรวมและการดูแลพ่อแม่พันธุ์ ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องทำการเตรียมตู้และระบบกรองน้ำในตู้ให้ดีให้พร้อมจะรองรับพ่อแม่พันธุ์ จากนั้นจึงค่อยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ และในขณะที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องคอยตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบให้ดีอยู่ตลอดเวลา ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ได้แก่ กุ้งเคยเป็นหรือแช่แข็ง และอาร์ทีเมียขนาดใหญ่ ในการให้อาหารไม่ควรให้มากเกินไปเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้พ่อแม่พันธุ์ม้าน้ำผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับอาหาร ขนาดของบ่อและสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นผู้เลี้ยงควรระมัดระวังเรื่องคุณภาพน้ำในระบบ คุณค่าทางอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุทำให้ม้าน้ำเครียด สำหรับม้าน้ำในประเทศไทยพบว่าสามารถออกลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะมากที่สุดคือในช่วงฤดูหนาว โดยในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกของลูกม้าน้ำจะอนุบาลด้วยไรน้ำเค็มที่เพิ่งฟัก จนกระทั่งลูกม้าน้ำมีอายุประมาณ 5 วัน ก็เริ่มให้ไรน้ำเค็มอายุ 1-2 วัน หลังจากนั้นเมื่อลูกม้าน้ำอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ก็สามารถเลี้ยงด้วยไรน้ำเค็มอายุ 3-4 วันได้การอนุบาลลูกม้าน้ำในระยะแรกควรเลี้ยงในตู้ขนาด 35 ลิตร โดยมีความหนาแน่น 200 ตัวต่อตู้ และให้ทำการดูดตะกอนทุกวัน จนกระทั่งลูกม้าน้ำอายุได้ 1 เดือน ก็สามารถเลี้ยงรวมกันในตู้ขนาด 150 ลิตรในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดได้ และให้อาหารเป็นไรน้ำเค็มอายุ 5-7 วันได้ ซึ่งเมื่อม้าน้ำมีอายุ 5-8 เดือนก็สามารถจำแนกเพศของม้านม้าน้ำเป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งเนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายใจด้วยเหงือก มีการเคลื่อนที่ไปมาและควบคุมทิศทางด้วยครีบ มีเกราะปกคลุมลำตัว ซึ่งเป็นลักษณะของปลานั่นเอง เพียงแต่ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลก คือมีส่วนหัวเหมือนม้า อยู่ในตระกูล GENUS เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แม้ม้าน้ำทั่วโลกก็ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Hippocampus ของครอบครัว Syngnathidae แต่เพราะความแปลกประหลาดของเจ้าม้าน้ำในด้านรูปพรรณสัณฐาน วงจรชีวิตที่แตกต่างไปจากปลา เหนือสัตว์ทะเลโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้การจัดแบ่งชนิดของม้าน้ำในระดับชนิด Species ยังมีความสับสนอยู่มาก แต่ก็มีการประมาณการกันไว้ว่า ม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำทั่วโลก 6 ทวีปคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชียนั้น น่าจะมีอยู่ประมาณ 35 ชนิดในประเทศไทยพบว่า ม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย คาดว่าน่าจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ
1. ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus ) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึก ใสสะอาด เช่น เกาะที่มีแนวปะการัง กัลปังหา ห่างจากชายฝั่ง เป็นม้าน้ำที่มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำพันธุ์ kuda ชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำดูปะการังและนักสะสมของที่ระลึกรวมทั้งนักเลี้ยงปลาทะเลในตู้โชว์
2. ม้าน้ำ 3 จุด ( H. trimaculatus ) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว จะอพยพเข้ามาบริเวณชายฝั่งและมักจะติดอวนปู อวนกุ้งของชาวประมงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่ม้าน้ำอยู่ในระยะผสมพันธุ์ และวางไข่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการลดจำนวนประชากรของม้าน้ำพันธุ์นี้ลงอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากบริเวณส่วนบนของลำตัวม้าน้ำพันธุ์นี้จะปรากฏเป็นจุดดำ ประมาณ 3 จุด จึงเป็นสาเหตุให้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ม้าน้ำ 3 จุด"
3. ม้าน้ำแคระ ( H. mohnikei ) มีขนาดเล็กที่สุดพบเห็นไม่บ่อยนัก ตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่าย บริเวณที่เป็นพื้นทราย แต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ม้าน้ำชนิดนี้หายากจึงยากต่อการเพาะเลี้ยง
4. ม้าน้ำดำ ( Hippocampus kuda ) จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนม้าน้ำที่พบในน่านน้ำไทย ในอดีตมีผู้บอกเล่าว่ามีขนาดยาวถึง 1 ศอก แต่ปัจจุบันที่มีการพบเห็นตัวใหญ่ที่สุดมีขนาดตัวยาวเท่าฝ่ามือเท่านั้น แต่ก็ยังจัดได้ว่าเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้รับความชื่นชอบจากนักนิยมยาบำรุง จึงเป็นสาเหตุให้ม้าน้ำชนิดนี้สูญพันธุ์ ลำตัวสีดำสนิท ผิวค่อนข้างเรียบไม่มีหนามยาวแหลม อาศัยตามชายฝั่งบริเวณที่มีน้ำค่อนข้างขุ่น เมื่อนำมาเลี้ยงสามารถเปลี่ยนสีได้ ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย

ม้าน้ำได้รับฉายาว่าเป็นนักอำพรางตัวยงเนื่องจากจะมีวิวัฒนาการของรูปร่างให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น ม้าน้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังก็มักจะมีหนามยาว และมีสีสันสวยงาม หรือม้าน้ำที่อาศัยอยู่ในดงสาหร่ายทะเล เช่น ม้าน้ำที่พบในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเส้นใยออกมาจากผิวหนัง คล้ายกับสาหร่ายในบริเวณที่ม้าน้ำชนิดนี้อาศัยอยู่ และม้าน้ำมักจะปรับเปลี่ยนสีของตัวได้ตามสภาพของแสงและอารมณ์ โดยเฉพาะเวลาที่เกี้ยวพาราสี หรือต่อสู้ จากการสังเกตพฤติกรรมของม้าน้ำหนามพบว่า มันจะผสมพันธุ์กันในช่วงเช้าจนถึงประมาณก่อนเที่ยง โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปหาตัวเมีย แล้วใช้หางกวาดเพื่อจับตัวเมียเอาไว้ หลังจากนั้นจะเริ่มแอ่นอก งอหัวลงจนปากแนบชิดหน้าอกแล้วบีบถุงหน้าท้องจนเห็นช่องเปิด เพื่อแสดงให้ตัวเมียเห็นว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์ หากตัวเมียพร้อมก็จะเปลี่ยนสีลำตัว แล้วว่ายหันข้างลำตัวคู่กันไป ถ้าไม่พร้อมจะสลัดให้หลุด
ม้าน้ำตัวผู้จะมีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ทำให้ไข่ม้าน้ำที่อยู่ในถุงหน้าท้องนั้นฝังตัวลงในเนื้อเยื้อเหมือนกับสัตว์อ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งคงจะไม่ผิดนักที่จะบอกว่าธรรมชาติสร้างให้ม้าน้ำตัวผู้จะต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องตัวจริงแม้จะมีช่วงระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก็ตาม หลังจากที่ตัวผู้อุ้มท้อง ตัวเมียก็จะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฟักลูกออกมาเป็นตัว และจะอยู่ด้วยกันตลอด จนเมื่อตัวใดตัวหนึ่งตายที่เหลือก็จะไปจับคู่กันใหม่ ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร ลักษณะพิเศษนี้ทำให้ม้าน้ำกลายเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ที่ได้รับความนิยม นำไปมอบให้เป็นของขวัญในวาระสำคัญเช่น งานแต่งงานโดยจะถูกทำเป็นม้าน้ำตากแห้งบรรจุใส่กล่อง
การรวบรวมและการดูแลพ่อแม่พันธุ์ ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องทำการเตรียมตู้และระบบกรองน้ำในตู้ให้ดีให้พร้อมจะรองรับพ่อแม่พันธุ์ จากนั้นจึงค่อยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ และในขณะที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องคอยตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบให้ดีอยู่ตลอดเวลา ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ได้แก่ กุ้งเคยเป็นหรือแช่แข็ง และอาร์ทีเมียขนาดใหญ่ ในการให้อาหารไม่ควรให้มากเกินไปเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้พ่อแม่พันธุ์ม้าน้ำผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับอาหาร ขนาดของบ่อและสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นผู้เลี้ยงควรระมัดระวังเรื่องคุณภาพน้ำในระบบ คุณค่าทางอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุทำให้ม้าน้ำเครียด สำหรับม้าน้ำในประเทศไทยพบว่าสามารถออกลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะมากที่สุดคือในช่วงฤดูหนาว โดยในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกของลูกม้าน้ำจะอนุบาลด้วยไรน้ำเค็มที่เพิ่งฟัก จนกระทั่งลูกม้าน้ำมีอายุประมาณ 5 วัน ก็เริ่มให้ไรน้ำเค็มอายุ 1-2 วัน หลังจากนั้นเมื่อลูกม้าน้ำอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ก็สามารถเลี้ยงด้วยไรน้ำเค็มอายุ 3-4 วันได้การอนุบาลลูกม้าน้ำในระยะแรกควรเลี้ยงในตู้ขนาด 35 ลิตร โดยมีความหนาแน่น 200 ตัวต่อตู้ และให้ทำการดูดตะกอนทุกวัน จนกระทั่งลูกม้าน้ำอายุได้ 1 เดือน ก็สามารถเลี้ยงรวมกันในตู้ขนาด 150 ลิตรในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดได้ และให้อาหารเป็นไรน้ำเค็มอายุ 5-7 วันได้ ซึ่งเมื่อม้าน้ำมีอายุ 5-8 เดือนก็สามารถจำแนกเพศของม้าน

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


ระบบนิเวศ (ecosystem)
ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่ง ที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และระหว่าง สิ่งมีชีวิต กับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงาน และสารอาหารในบริเวณนั้นๆ สู่สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท
1. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือปัจจัยทางกายภาพ (Physical Factor) ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ น้ำและความชื้น กระแสลม อากาศ ความเค็ม ความเป็นกรด-เบส แร่ธาตุ ไฟแก๊ส
2. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic Factor)

ระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestial Ecosystems) 2. ระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems)
ตัวอย่างระบบนิเวศชนิดต่างๆ

องค์ประกอบในระบบนิเวศ
องค์ประกอบในระบบนิเวศ ประกอบด้วย 2 ส่วน
1. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Component) - อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน - อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ - สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและ ความชื้น
2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic Component) ได้แก่ - ผู้ผลิต (producer) - ผู้บริโภค (consumer) - ผู้ย่อยสลาย (decompser)
ผู้ผลิต (Producer) คือ
สิ่งมีชีวิต ที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เอง ด้วยแร่ธาตุและสสาร ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรีย
องค์ประกอบในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ภายในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แบ่งออก เป็น 2 ลักษณะคือ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่ม (ผู้ผลิต - ผู้บริโภค - ผู้ย่อยสลาย) ในระบบนิเวศ จะมีการถ่ายเท พลังงาน เป็นทอดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค การไหลเวียน การถ่ายทอดพลังงานเป็นทอดๆ นี้ เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (food chain)


รักแรกคือฟันน้ำนม
รักละบมคือฟันผุ
รักที่สุดคือตัวเทอ
รักเสมอคือ (เทอให้ฟัน)

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ซากุระ




ซากุระ


ซากุระ (ภาษาญี่ปุ่น : 桜 หรือ 櫻) เป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของซากุระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากุระจึงเป็นสัญลักษณ์ของเลือดทหารและซามูไรของญี่ปุ่น
มีดอกซากุระใน
เกาหลี, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, จีน หรือที่อื่นๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ซากุระของญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นของมัน และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี
ดอกซากุระของญี่ปุ่นนี้ ใน
ภาษาอังกฤษมีคำเรียกทั่วไปว่า “cherry blooms” หรือ “cherry blossom” หรือไม่ก็ “Japanese Flowering Cherry” จะบานในช่วงปลายมีนา-ต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป
ดอกซากุระ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น เชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า ซะกุยะ (หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเจ้าหญิง โคโนฮะนะซะคุยาฮิเม มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอด
เขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเจ้าหญิงองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าเจ้าหญิงดอกไม้บาน และเนื่องจากซากุระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากุระนั่นเอง เจ้าหญิงองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์ มาบนต้นซากุระ ดังนั้น ดอกซากุระจึงถือเป็นตัวแทนของดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลประกาศให้ดอกเก็กฮวย (ดอกเบญจมาส) เป็นดอกไม้ประจำชาติ


ประวัติ ภูเขาฟูจิ
เชื่อว่ามีผู้ปีนเขาฟูจี ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1206 โดยนักบวชท่านหนึ่ง และในช่วงระหว่างนั้นจนถึงยุคเมจิ ภูเขาฟูจิได้ชื่อว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งห้ามผู้หญิงขึ้นเขา โดยในปัจจุบันภูเขาฟูจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ภูเขาฟูจิได้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากในงานเขียนหรือภาพวาดต่างๆ โดยเฉพาะภาพวาดของ โฮะกุไซ ที่มีให้เห็นในวรรณกรรมญี่ปุ่นและกาพย์กลอนที่สำคัญมากมาย ภูเขาฟูจิยังเป็นฐานทัพของซามูไรต่างๆมากมายจากยุคอดีต เป็นที่ฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบัน ฐานทัพหนึ่งของกองทหารญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณตีนเขาฟูจิ


ซุปซากุระรังนกแผ่นทองคำ ข้าวอบซากุระ ซากุระโมจิ และมีเมนูอาหารประจำฤดูกาลอย่าง ข้าวปั้นหน้าหอยปีกนก ข้าวปั้นหน้าปลาโคฮาดะดอง ซึ่งคล้ายกับปลาซาบะดอง ทว่าฤดูกาลนี้ปลาโคฮาดะชุกชุม เวลาดองใช้เวลาไม่นานเพื่อให้ได้รสชาติกลมกล่อม กินกับขิงและต้นหอม ส่วนหอยปีกนกนั้นฤดูกาลนี้เนื้อจะแน่นอร่อยกว่าฤดูอื่น
“ซุปรังนกเราคัดรังนกที่ดีมีคุณภาพ ส่วนข้าวอบซากุระอบปรุงตามสูตรของญี่ปุ่น มีข้าวญี่ปุ่น ซอสญี่ปุ่น เนื้อไก่ คอมบุสาหร่ายทะเล แครอท อบให้สุกก่อนเสิร์ฟตกแต่งด้วยดอกซากุระ ซึ่งถ้าเรานำดอกซากุระไปอบพร้อมกับข้าวจะทำให้สีจืดลง ไปโดนซอสกลบไม่สวย ถ้านำมาตกแต่งทีหลังก็จะได้ความสดสวยของดอกซากุระสีชมพู ส่วนโมจิเราสั่งผลิตจากโรงงานของโออิชิ เป็นไส้ถั่วแดงแล้วนำมาแต่งด้วยดอกซากุระ…ความจริงอยากทำเป็นดอกสด แต่กฎหมายเขาไม่ให้นำดอกสดออกนอกประเทศ ก็เลยต้องเป็นดอกที่ดองมาแล้ว”