วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

ม้าน้ำ เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งเนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายใจด้วยเหงือก มีการเคลื่อนที่ไปมาและควบคุมทิศทางด้วยครีบ มีเกราะปกคลุมลำตัว ซึ่งเป็นลักษณะของปลานั่นเอง เพียงแต่ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลก คือมีส่วนหัวเหมือนม้า อยู่ในตระกูล GENUS เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แม้ม้าน้ำทั่วโลกก็ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Hippocampus ของครอบครัว Syngnathidae แต่เพราะความแปลกประหลาดของเจ้าม้าน้ำในด้านรูปพรรณสัณฐาน วงจรชีวิตที่แตกต่างไปจากปลา เหนือสัตว์ทะเลโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้การจัดแบ่งชนิดของม้าน้ำในระดับชนิด Species ยังมีความสับสนอยู่มาก แต่ก็มีการประมาณการกันไว้ว่า ม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำทั่วโลก 6 ทวีปคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชียนั้น น่าจะมีอยู่ประมาณ 35 ชนิดในประเทศไทยพบว่า ม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย คาดว่าน่าจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ
1. ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus ) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึก ใสสะอาด เช่น เกาะที่มีแนวปะการัง กัลปังหา ห่างจากชายฝั่ง เป็นม้าน้ำที่มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำพันธุ์ kuda ชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำดูปะการังและนักสะสมของที่ระลึกรวมทั้งนักเลี้ยงปลาทะเลในตู้โชว์
2. ม้าน้ำ 3 จุด ( H. trimaculatus ) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว จะอพยพเข้ามาบริเวณชายฝั่งและมักจะติดอวนปู อวนกุ้งของชาวประมงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่ม้าน้ำอยู่ในระยะผสมพันธุ์ และวางไข่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการลดจำนวนประชากรของม้าน้ำพันธุ์นี้ลงอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากบริเวณส่วนบนของลำตัวม้าน้ำพันธุ์นี้จะปรากฏเป็นจุดดำ ประมาณ 3 จุด จึงเป็นสาเหตุให้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ม้าน้ำ 3 จุด"
3. ม้าน้ำแคระ ( H. mohnikei ) มีขนาดเล็กที่สุดพบเห็นไม่บ่อยนัก ตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่าย บริเวณที่เป็นพื้นทราย แต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ม้าน้ำชนิดนี้หายากจึงยากต่อการเพาะเลี้ยง
4. ม้าน้ำดำ ( Hippocampus kuda ) จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนม้าน้ำที่พบในน่านน้ำไทย ในอดีตมีผู้บอกเล่าว่ามีขนาดยาวถึง 1 ศอก แต่ปัจจุบันที่มีการพบเห็นตัวใหญ่ที่สุดมีขนาดตัวยาวเท่าฝ่ามือเท่านั้น แต่ก็ยังจัดได้ว่าเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้รับความชื่นชอบจากนักนิยมยาบำรุง จึงเป็นสาเหตุให้ม้าน้ำชนิดนี้สูญพันธุ์ ลำตัวสีดำสนิท ผิวค่อนข้างเรียบไม่มีหนามยาวแหลม อาศัยตามชายฝั่งบริเวณที่มีน้ำค่อนข้างขุ่น เมื่อนำมาเลี้ยงสามารถเปลี่ยนสีได้ ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย

ม้าน้ำได้รับฉายาว่าเป็นนักอำพรางตัวยงเนื่องจากจะมีวิวัฒนาการของรูปร่างให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น ม้าน้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังก็มักจะมีหนามยาว และมีสีสันสวยงาม หรือม้าน้ำที่อาศัยอยู่ในดงสาหร่ายทะเล เช่น ม้าน้ำที่พบในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเส้นใยออกมาจากผิวหนัง คล้ายกับสาหร่ายในบริเวณที่ม้าน้ำชนิดนี้อาศัยอยู่ และม้าน้ำมักจะปรับเปลี่ยนสีของตัวได้ตามสภาพของแสงและอารมณ์ โดยเฉพาะเวลาที่เกี้ยวพาราสี หรือต่อสู้ จากการสังเกตพฤติกรรมของม้าน้ำหนามพบว่า มันจะผสมพันธุ์กันในช่วงเช้าจนถึงประมาณก่อนเที่ยง โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปหาตัวเมีย แล้วใช้หางกวาดเพื่อจับตัวเมียเอาไว้ หลังจากนั้นจะเริ่มแอ่นอก งอหัวลงจนปากแนบชิดหน้าอกแล้วบีบถุงหน้าท้องจนเห็นช่องเปิด เพื่อแสดงให้ตัวเมียเห็นว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์ หากตัวเมียพร้อมก็จะเปลี่ยนสีลำตัว แล้วว่ายหันข้างลำตัวคู่กันไป ถ้าไม่พร้อมจะสลัดให้หลุด
ม้าน้ำตัวผู้จะมีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ทำให้ไข่ม้าน้ำที่อยู่ในถุงหน้าท้องนั้นฝังตัวลงในเนื้อเยื้อเหมือนกับสัตว์อ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งคงจะไม่ผิดนักที่จะบอกว่าธรรมชาติสร้างให้ม้าน้ำตัวผู้จะต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องตัวจริงแม้จะมีช่วงระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก็ตาม หลังจากที่ตัวผู้อุ้มท้อง ตัวเมียก็จะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฟักลูกออกมาเป็นตัว และจะอยู่ด้วยกันตลอด จนเมื่อตัวใดตัวหนึ่งตายที่เหลือก็จะไปจับคู่กันใหม่ ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร ลักษณะพิเศษนี้ทำให้ม้าน้ำกลายเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ที่ได้รับความนิยม นำไปมอบให้เป็นของขวัญในวาระสำคัญเช่น งานแต่งงานโดยจะถูกทำเป็นม้าน้ำตากแห้งบรรจุใส่กล่อง
การรวบรวมและการดูแลพ่อแม่พันธุ์ ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องทำการเตรียมตู้และระบบกรองน้ำในตู้ให้ดีให้พร้อมจะรองรับพ่อแม่พันธุ์ จากนั้นจึงค่อยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ และในขณะที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องคอยตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบให้ดีอยู่ตลอดเวลา ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ได้แก่ กุ้งเคยเป็นหรือแช่แข็ง และอาร์ทีเมียขนาดใหญ่ ในการให้อาหารไม่ควรให้มากเกินไปเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้พ่อแม่พันธุ์ม้าน้ำผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับอาหาร ขนาดของบ่อและสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นผู้เลี้ยงควรระมัดระวังเรื่องคุณภาพน้ำในระบบ คุณค่าทางอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุทำให้ม้าน้ำเครียด สำหรับม้าน้ำในประเทศไทยพบว่าสามารถออกลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะมากที่สุดคือในช่วงฤดูหนาว โดยในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกของลูกม้าน้ำจะอนุบาลด้วยไรน้ำเค็มที่เพิ่งฟัก จนกระทั่งลูกม้าน้ำมีอายุประมาณ 5 วัน ก็เริ่มให้ไรน้ำเค็มอายุ 1-2 วัน หลังจากนั้นเมื่อลูกม้าน้ำอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ก็สามารถเลี้ยงด้วยไรน้ำเค็มอายุ 3-4 วันได้การอนุบาลลูกม้าน้ำในระยะแรกควรเลี้ยงในตู้ขนาด 35 ลิตร โดยมีความหนาแน่น 200 ตัวต่อตู้ และให้ทำการดูดตะกอนทุกวัน จนกระทั่งลูกม้าน้ำอายุได้ 1 เดือน ก็สามารถเลี้ยงรวมกันในตู้ขนาด 150 ลิตรในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดได้ และให้อาหารเป็นไรน้ำเค็มอายุ 5-7 วันได้ ซึ่งเมื่อม้าน้ำมีอายุ 5-8 เดือนก็สามารถจำแนกเพศของม้านม้าน้ำเป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งเนื่องจากเป็นสัตว์ที่หายใจด้วยเหงือก มีการเคลื่อนที่ไปมาและควบคุมทิศทางด้วยครีบ มีเกราะปกคลุมลำตัว ซึ่งเป็นลักษณะของปลานั่นเอง เพียงแต่ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลก คือมีส่วนหัวเหมือนม้า อยู่ในตระกูล GENUS เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แม้ม้าน้ำทั่วโลกก็ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Hippocampus ของครอบครัว Syngnathidae แต่เพราะความแปลกประหลาดของเจ้าม้าน้ำในด้านรูปพรรณสัณฐาน วงจรชีวิตที่แตกต่างไปจากปลา เหนือสัตว์ทะเลโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้การจัดแบ่งชนิดของม้าน้ำในระดับชนิด Species ยังมีความสับสนอยู่มาก แต่ก็มีการประมาณการกันไว้ว่า ม้าน้ำที่พบได้ในน่านน้ำทั่วโลก 6 ทวีปคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชียนั้น น่าจะมีอยู่ประมาณ 35 ชนิดในประเทศไทยพบว่า ม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย คาดว่าน่าจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ
1. ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus ) อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึก ใสสะอาด เช่น เกาะที่มีแนวปะการัง กัลปังหา ห่างจากชายฝั่ง เป็นม้าน้ำที่มีสีสันสวยงาม มักจะมีสีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว แต่มีขนาดเล็กกว่าม้าน้ำพันธุ์ kuda ชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำดูปะการังและนักสะสมของที่ระลึกรวมทั้งนักเลี้ยงปลาทะเลในตู้โชว์
2. ม้าน้ำ 3 จุด ( H. trimaculatus ) พบตามเขตชายฝั่งในฤดูหนาว จะอพยพเข้ามาบริเวณชายฝั่งและมักจะติดอวนปู อวนกุ้งของชาวประมงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่ม้าน้ำอยู่ในระยะผสมพันธุ์ และวางไข่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการลดจำนวนประชากรของม้าน้ำพันธุ์นี้ลงอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากบริเวณส่วนบนของลำตัวม้าน้ำพันธุ์นี้จะปรากฏเป็นจุดดำ ประมาณ 3 จุด จึงเป็นสาเหตุให้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ม้าน้ำ 3 จุด"
3. ม้าน้ำแคระ ( H. mohnikei ) มีขนาดเล็กที่สุดพบเห็นไม่บ่อยนัก ตัวสีดำ อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกาะอยู่ตามสาหร่าย บริเวณที่เป็นพื้นทราย แต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ม้าน้ำชนิดนี้หายากจึงยากต่อการเพาะเลี้ยง
4. ม้าน้ำดำ ( Hippocampus kuda ) จัดเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนม้าน้ำที่พบในน่านน้ำไทย ในอดีตมีผู้บอกเล่าว่ามีขนาดยาวถึง 1 ศอก แต่ปัจจุบันที่มีการพบเห็นตัวใหญ่ที่สุดมีขนาดตัวยาวเท่าฝ่ามือเท่านั้น แต่ก็ยังจัดได้ว่าเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้รับความชื่นชอบจากนักนิยมยาบำรุง จึงเป็นสาเหตุให้ม้าน้ำชนิดนี้สูญพันธุ์ ลำตัวสีดำสนิท ผิวค่อนข้างเรียบไม่มีหนามยาวแหลม อาศัยตามชายฝั่งบริเวณที่มีน้ำค่อนข้างขุ่น เมื่อนำมาเลี้ยงสามารถเปลี่ยนสีได้ ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม สีเหลือง และน้ำตาลแดง พบง่ายบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย

ม้าน้ำได้รับฉายาว่าเป็นนักอำพรางตัวยงเนื่องจากจะมีวิวัฒนาการของรูปร่างให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น ม้าน้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังก็มักจะมีหนามยาว และมีสีสันสวยงาม หรือม้าน้ำที่อาศัยอยู่ในดงสาหร่ายทะเล เช่น ม้าน้ำที่พบในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเส้นใยออกมาจากผิวหนัง คล้ายกับสาหร่ายในบริเวณที่ม้าน้ำชนิดนี้อาศัยอยู่ และม้าน้ำมักจะปรับเปลี่ยนสีของตัวได้ตามสภาพของแสงและอารมณ์ โดยเฉพาะเวลาที่เกี้ยวพาราสี หรือต่อสู้ จากการสังเกตพฤติกรรมของม้าน้ำหนามพบว่า มันจะผสมพันธุ์กันในช่วงเช้าจนถึงประมาณก่อนเที่ยง โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปหาตัวเมีย แล้วใช้หางกวาดเพื่อจับตัวเมียเอาไว้ หลังจากนั้นจะเริ่มแอ่นอก งอหัวลงจนปากแนบชิดหน้าอกแล้วบีบถุงหน้าท้องจนเห็นช่องเปิด เพื่อแสดงให้ตัวเมียเห็นว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์ หากตัวเมียพร้อมก็จะเปลี่ยนสีลำตัว แล้วว่ายหันข้างลำตัวคู่กันไป ถ้าไม่พร้อมจะสลัดให้หลุด
ม้าน้ำตัวผู้จะมีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ทำให้ไข่ม้าน้ำที่อยู่ในถุงหน้าท้องนั้นฝังตัวลงในเนื้อเยื้อเหมือนกับสัตว์อ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งคงจะไม่ผิดนักที่จะบอกว่าธรรมชาติสร้างให้ม้าน้ำตัวผู้จะต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องตัวจริงแม้จะมีช่วงระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก็ตาม หลังจากที่ตัวผู้อุ้มท้อง ตัวเมียก็จะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฟักลูกออกมาเป็นตัว และจะอยู่ด้วยกันตลอด จนเมื่อตัวใดตัวหนึ่งตายที่เหลือก็จะไปจับคู่กันใหม่ ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร ลักษณะพิเศษนี้ทำให้ม้าน้ำกลายเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ที่ได้รับความนิยม นำไปมอบให้เป็นของขวัญในวาระสำคัญเช่น งานแต่งงานโดยจะถูกทำเป็นม้าน้ำตากแห้งบรรจุใส่กล่อง
การรวบรวมและการดูแลพ่อแม่พันธุ์ ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องทำการเตรียมตู้และระบบกรองน้ำในตู้ให้ดีให้พร้อมจะรองรับพ่อแม่พันธุ์ จากนั้นจึงค่อยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ และในขณะที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จะต้องคอยตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบให้ดีอยู่ตลอดเวลา ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ได้แก่ กุ้งเคยเป็นหรือแช่แข็ง และอาร์ทีเมียขนาดใหญ่ ในการให้อาหารไม่ควรให้มากเกินไปเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้พ่อแม่พันธุ์ม้าน้ำผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับอาหาร ขนาดของบ่อและสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นผู้เลี้ยงควรระมัดระวังเรื่องคุณภาพน้ำในระบบ คุณค่าทางอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุทำให้ม้าน้ำเครียด สำหรับม้าน้ำในประเทศไทยพบว่าสามารถออกลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะมากที่สุดคือในช่วงฤดูหนาว โดยในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกของลูกม้าน้ำจะอนุบาลด้วยไรน้ำเค็มที่เพิ่งฟัก จนกระทั่งลูกม้าน้ำมีอายุประมาณ 5 วัน ก็เริ่มให้ไรน้ำเค็มอายุ 1-2 วัน หลังจากนั้นเมื่อลูกม้าน้ำอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ก็สามารถเลี้ยงด้วยไรน้ำเค็มอายุ 3-4 วันได้การอนุบาลลูกม้าน้ำในระยะแรกควรเลี้ยงในตู้ขนาด 35 ลิตร โดยมีความหนาแน่น 200 ตัวต่อตู้ และให้ทำการดูดตะกอนทุกวัน จนกระทั่งลูกม้าน้ำอายุได้ 1 เดือน ก็สามารถเลี้ยงรวมกันในตู้ขนาด 150 ลิตรในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดได้ และให้อาหารเป็นไรน้ำเค็มอายุ 5-7 วันได้ ซึ่งเมื่อม้าน้ำมีอายุ 5-8 เดือนก็สามารถจำแนกเพศของม้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น